คิดก่อนแชร์ แคร์คนที่คุณรัก
#ส่งต่อได้บุญ
อ้ะ ! ก่อนจะเข้าไปอ่านเนื้อหาข้างใน ลองมาเล่นเกมของเราก่อนสิ !
คัดสรรมาแล้วเพื่อคุณโดยทีมงาน De-Fake Team ! กับเกมที่จะทำให้คุณได้เข้าใจว่าคุณมีวิจารณญาณในการอ่านข่าวมากแค่ไหน
คุณถูก Fake News หลอกหรือไม่ พร้อมวิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง !
รู้ลึก รู้จริง รู้ทัน Fake News ให้มากยิ่งขึ้น
- เช็ค
- ชัวร์
- แชร์
ดูคลิปด้านล่าง เพื่อให้เข้าใจคอนเซปต์โดยรวมของเราให้มากยิ่งขึ้น !
Fake News คืออะไร ?
Fake News = ข่าวลวง
Fake News นั้นถ้าให้แปลตรง ๆ เลยก็คือข่าวปลอม ข่าวลวง หรือข่าวที่ไม่ได้เป็นความจริง คำว่า Fake News นั้นเป็นคำใหม่ (Neologism) ดังนั้นความหมายของมันจึงแล้วแต่การนิยามของแต่ละคน คุณ Michael Radutzk โปรดิวเซอร์ของรายการ 60 Miniutes ได้เคยนิยาม Fake News ไว้ว่า “stories that are provably false, have enormous traction in the culture, and are consumed by millions of people” หรือ เรื่องราวที่ถูกพิสูจน์ได้ว่าไม่จริง และมีผลกระทบในระดับความเชื่อ และเข้าถึงคนหลักล้าน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้
ล้อเลียน
มีเนื้อหาเพื่อเสียดสีให้ขบขัน
ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อก่ออันตราย แต่อาจเป็นเพราะหลงเชื่อว่านี่คือเรื่องจริง
ชี้นำ
มีเนื้อหาเป็นข้อมูลที่ถูกจัดฉากชี้นำ
มีเป้าหมายเพื่อจุดประเด็นหรือใส่ร้าย
ข่าวปลอม
มีเนื้อหาเป็นการแต่งเรื่องขึ้นมาใหม่ทั้งหมด มีเป้าหมายเพื่อมุ่งร้ายหรือหลอกลวง
สวมรอย
มีเนื้อหาเป็นการแอบอ้างสวมรอยเป็นบุคคลอื่นๆมาให้ข้อมูลที่ผิด เป้าหมายเพื่อมุ่งร้าย หลอกลวง
หลอกลวง
มีเนื้อหาที่ให้ข้อมูลจริง แต่นำมาใช้เพื่อหลอกขอข้อมูลต่างๆ
ผิดบริบท
มีเนื้อหาเป็นข้อมูลจริง แต่ใช้ผิดบริบท มีเป้าหมายได้หลายแบบ
โยงมั่ว
เนื้อหาของหัวข่าว ภาพ คลิป แคปชั่น ไปคนละทิศทาง ไม่เป็นเรื่องราว มีเป้าหมายเป็นไปได้หลายแบบ
อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม ?
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก Fake News
เกี่ยวกับสุขภาพ
เช่นข่าวปลอม "น้ำสับปะรดร้อนรักษามะเร็ง" ซึ่งสร้างความเชื่อที่ผิดๆ ให้แก่ผู้รับข่าว
เกี่ยวกับทรัพย์สิน
ส่วนมากจะพบเห็นได้บ่อยในข่าว "รับฟรีของแบรนด์ดัง ฉลองครบรอบ 15 ปี แบรนด์..." ซึ่งจะหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวของเราไป พร้อมกับส่งต่อการหลอกลวงนี้ให้ผู้อื่นด้วย
เกี่ยวกับการเมือง
ส่วนมากเนื้อหาของหัวข่าว ภาพ คลิป แคปชั่น อาจจะถูกต้อง แต่ถูกคัดมาส่วนเดียวเพื่อใส่ร้ายทางการเมือง ยุยงให้คนเกิดความแตกแยกกัน